เมนูหลัก
รายงานประจำปี 2564

HR Scorecard
ประจำปีงบประมาณ 2563

 
ความเสมอภาคหญิงชาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กับความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย

          ในช่วงเวลาของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านมา ได้มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรสตรีหลายๆ องค์กรที่ต่างพยายาม ผลักดันให้ ประเด็นเรื่องความเสมอภาคหญิงชายบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แนวคิดในการผลักดันประเด็นดังกล่าวล้วนเกิดจาก มุมมองตามแนวคิด ในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล และเมื่อการลงประชามติเสร็จสิ้น ชาวไทยจึงได้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหากวิเคราะห์เนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ดีแล้ว จะพบว่ามีหลายประเด็นและหลายมาตราที่เป็นประโยชน์และเอื้อต่อการทำงานของภาครัฐเป็นอย่างยิ่ง และแน่นอนว่าผู้ที่จะได้รับ ผลประโยชน์ที่แท้จริง คือ กลุ่มผู้หญิงที่เป็นผู้รับบริการของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

  • มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
  • มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
  • มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามวรรคสาม
  • มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
  • มาตรา 40 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม....(6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ
  • มาตรา 52 เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว
  • มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้ (1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัว และชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
  • มาตรา 81 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (5) สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว
  • มาตรา 84 รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ (7) ส่งเสริมให้ประชากรวัยทํางานมีงานทํา คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทํางานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทํางานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกัน ได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • วรรคสุดท้าย การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ ต้องคํานึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน
  • มาตรา 97 (เรื่อง ส.ส.) การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน... ต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสม และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
  • มาตรา 114 ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาดําเนินการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่าง ๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพและภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเท่าจํานวนที่จะพึงมีตามที่กําหนดในมาตรา 111 วรรคหนึ่ง ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภา เป็นสําคัญ และให้คํานึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคล ในแต่ละภาคตามวรรคหนึ่งที่ใกล้เคียงกันรวมทั้งการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย
  • มาตรา 152 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่า มีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ หากสภาผู้แทนราษฎรมิได้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้น มีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนกรรมาธิการทั้งหมด ทั้งนี้ โดยมีสัดส่วนหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน